วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เบียร์ลาว วางกลยุทธ์อย่างไร ?


ในปี 1993 รัฐบาล สปป.ลาว มีนโยบายให้แปรรูป (privatization) โรงงานเบียร์ลาวเพื่อหาเงินทุนภายนอกเข้ามาขยายกิจการ ได้มีการเชิญชวนนักลงทุนจากประเทศไทย คือบริษัทล็อกซเล่ย์และบริษัทอิตัลไทยเข้ามาถือหุ้น โดยรัฐบาล สปป.ลาว ยอมลดสัดส่วนการถือหุ้นลงมาเหลือ 49% และให้ทั้ง 2 รายถือหุ้นรวมกัน 51% เบียร์ลาวได้เพิ่มเงินทุนจากเดิมที่มีอยู่ 800 ล้านกีบ เป็น 6.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายหลังการแปรรูป เมื่อมีเงินทุนใหม่เข้ามาทำให้ เบียร์ลาว ได้โอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดด กำลังการผลิตของ เบียร์ลาว ได้เพิ่มขึ้นจาก 10.2 ล้านลิตรในปลายปี 1994 เป็น 25 ล้านลิตร ในปี 1997 แต่การขยายกำลังการผลิตหลายครั้งก็ยังไม่สามารถผลิตเบียร์ได้พอกับความต้องการภายในประเทศอยู่ดี ดังนั้นจึงมีการขอขยายโรงงานอีกครั้ง เมื่อเดือนสิงหาคม 1997 ในพื้นที่ตั้งของโรงงานเดิมและได้รับอนุญาตให้ดำเนินการได้ โรงงานใหม่นี้สร้างเสร็จเมื่อปลายปี 1999 โดยมีกำลังผลิตเพิ่มเป็นปีละ 50 ล้านลิตร เงินทุนของ เบียร์ลาว ในช่วงนี้ได้เพิ่มขึ้นจาก 6.7 ล้านดอลลาร์ ในปี 1994 มาเป็น 8.5 ล้านดอลลาร์ ในปี 1997
  นอกจากนี้ การที่ได้ผู้ถือหุ้นจากภาคเอกชนเข้ามายังทำให้ เบียร์ลาว ได้เรียนรู้โนว์ฮาวด้านการบริหารจัดการ โดยในช่วงนั้นทั้งล็อกซเล่ย์ และอิตัลไทยต่างก็ส่งทีมงานเข้ามาช่วยปรับปรุงการบริหารจัดการที่เคยเฉื่อยชาแบบรัฐวิสาหกิจให้แอคทีฟแบบเอกชนซึ่งแม้จะไม่เต็มร้อยแต่ก็ทำให้การบริหารงานของ เบียร์ลาว คล่องตัวขึ้นมาก ปี 1984-1985 มาร์เก็ตแชร์เบียร์ลาวมีแค่ 50% ตอนนั้นคนลาวนิยมเบียร์ไฮเนเก้นเป็นเบียร์นอก เบียร์ลาว 50% แต่จากวันนั้นถึงวันนี้เรามีแชร์ 98-99%”
  ตอนที่ได้ผู้ร่วมทุนใหม่เข้ามา ท่านกิดสะหนา มีโอกาสได้บริหารงานต่อตามเงื่อนไขของผู้ถือหุ้นที่กำหนดเอาไว้เลยว่าเขาต้องอยู่ ซึ่งก็หมายความว่าชีวิตของกิดสะหนาได้เติบโตมาควบคู่มากับ เบียร์ลาว ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน เขาบริหาร เบียร์ลาว ตั้งแต่เริ่มคิดสโลแกน วางกลยุทธ์ สร้างตลาด โดยกำหนดเป้าหมายไว้ว่า เบียร์ลาว ต้องเป็น เบียร์ของคนลาวทุกคน เขายอมรับอย่างเปิดเผยว่า หลายกลยุทธ์ที่เขานำมาใช้ เป็นกลยุทธ์ที่ เลียนแบบเบียร์สิงห์ของไทย เราต้องเรียนรู้ของเพื่อนบ้านที่เขาประสบความสำเร็จ สิงห์เขาใช้ My Country My Beer ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของใคร เราเอามาใช้ ก็เป็น เบียร์ลาว เมืองลาว ก็เป็นที่ฮิต ที่ฮือฮา เป็นความภูมิใจของผู้บริโภค และเป็นกลยุทธ์การตลาดที่จับกลุ่มคนทุกชั้น ใช้อยู่ 2-3 ปี ก็เปลี่ยนสโลแกนมาเป็น เบียร์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นความภาคภูมิใจของคนลาว ซึ่งก็กินใจและเป็นที่ภูมิใจของชาวลาวอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น