วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สภาพการตลาดในประเทศ


     การขายเบียร์ให้ทุกชนชั้นแม้จะขัดแย้งกับประเพณีของลาวอยู่บ้าง แต่ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลลาวต้องชั่งใจเพราะถึงไม่ผลิตเอง ก็ไม่สามารถปิดกั้นตลาดเบียร์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศได้ ดังนั้นความหมายของการดื่มได้ทั่วทุกคนจึงเน้นที่จะสื่อสารออกไปว่า ให้คนลาวดื่มอย่างพอเหมาะ ให้หลายคนดื่ม ไม่ใช่ดื่มคนเดียวหลายๆ ท่านกิดสะหนา ยกตัวอย่างเป็นคำพูดที่ทำให้มองเห็นภาพ  เป็นการทำตลาดที่เน้นจิตสำนึกที่พยายามปลูกฝัง แม้จะขัดแย้งกับการตลาดแห่งยุคสมัยที่มุ่งเพิ่มยอดขายก็ตาม เราเป็นศาสนาพุทธ แต่เบียร์จากต่างประเทศมาจากทุกแห่ง สไตล์ของเขาเน้นหาผู้บริโภค ยอดต้องขึ้น แต่เราต้องการทำตลาดระยะยาว ให้ยืนยงเพื่อรักษาการรับรู้ในแบรนด์ บนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
     การนำเบียร์ยี่ห้ออื่นเข้าไปตีตลาดในประเทศลาวนั้น เป็นเรื่องที่ยากมากในทุกวันนี้เพราะชาวลาวส่วนใหญ่ยังคงนิยมดื่ม เบียร์ลาวซึ่งเป็นเบียร์แห่งชาติอย่างแพร่หลาย ดังจะเห็นได้จากการครองความเป็นเจ้าในตลาดเบียร์ของประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนการขายมากถึง 99% 
      เบียร์ลาวได้รับความนิยมจากคนจำนวนมากในประเทศ ถึงขนาดที่หนังสือพิมพ์ของเดนมาร์กฉบับหนึ่งนำไปกล่าวเปรียบเปรยว่า เบียร์ลาวกับชาวลาวนั้นก็เหมือนกับทีมฟุตบอลกับแฟนคลับที่คลั่งไคล้ในทีมของตนอย่างไม่เสื่อมคลาย”     

      ตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดเกือบ 100% ของ เบียร์ลาว ถือเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญ เพราะธรรมชาติของคนลาวปัจจุบัน เวลามีงานเลี้ยงสังสรรค์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยมดื่มกันมากที่สุด คือเบียร์ ขณะที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทอื่นๆ มีคนดื่มน้อยมาก อย่างวิสกี้หรือบรั่นดี คนมีฐานะในสังคมเพียงไม่กี่กลุ่มที่สามารถดื่มได้ หรือคนในชนบทห่างไกลซึ่งมีสัดส่วนประชากรไม่มากนักที่ยังมีประเพณีดื่มสุราพื้นบ้านหรือสุรากลั่นเองอยู่ ประมาณกันว่ามูลค่าตลาดเบียร์ของ สปป.ลาว โดยรวมในปัจจุบันตกประมาณปีละ 2 ล้านล้านกีบ หรือเท่ากับ 7,874 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยนที่ 254 กีบเท่ากับ 1 บาท) หากคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าตลาดดังกล่าวจะอยู่ที่ 238 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ท่านกิดสะหนา วงไซ ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทเบียร์ลาวให้ตัวเลขอย่างถ่อมตัวว่ายอดขายของ เบียร์ลาว ทุกวันนี้อยู่ที่ปีละ 150 ล้านดอลลาร์ เท่านั้น ตัวเลขนี้อาจดูน้อยหากเปรียบเทียบกับตลาดเบียร์ในประเทศไทยที่มีประชากรกว่า 65 ล้านคน แต่ถือเป็นตัวเลขที่ใหญ่มากของ สปป.ลาว ที่มีประชากรเพียง 6 ล้านคนเศษ!!
    ส่วนหนึ่งที่ทำให้เบียร์ลาวสามารถครองตลาดในประเทศอยู่ได้ทั้งๆ ที่ทำการตลาดน้อยมากหรือไม่ได้ทำเลย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลตั้งกำแพงภาษีสำหรับเบียร์ต่างชาติไว้สูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เบียร์ลาวสามารถครองตลาดอยู่ได้แบบสบายๆ ( ความได้เปรียบเรื่องกำแพงภาษีดังกล่าวกำลังจะหมดไปในปี 2551 ที่จะถึงนี้ เมื่อถึงกำหนดที่ลาวจะต้องเปิดเสรีการค้าของตัวเองตามข้อบังคับของความตกลงเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งอาเซียนหรืออาฟต้า )
   หากมองไปถึงอนาคต เบียร์ลาว กำลังเป็นเบียร์ที่ได้รับความนิยมไม่เฉพาะใน สปป.ลาว แต่ยังรวมถึงคนไทย และนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก จนกำลังการผลิต 210 ล้านลิตรต่อปีจากโรงงานที่มีอยู่ 2 แห่งในทุกวันนี้ไม่เพียงพอต้องขยายกำลังการผลิตเพิ่มอีก 150 ล้านลิตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น