วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การแข่งขันในตลาดโลก


เบียร์ลาว เริ่ม Go inter ตามที่ตั้งใจ ด้วยการส่งออกเบียร์ไปจำหน่ายใน 10 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย แต่มีสัดส่วนการส่งออกเพียง 1% ของกำลังการผลิตเท่านั้น เป้าหมายของการส่งออกไม่มีอะไรมากไปกว่าความต้องการส่งออกแบรนด์มากกว่าจะจริงจังกับการทำยอดขาย เพราะสถานะของ เบียร์ลาว ก็ไม่ต่างจาก Brand Ambasder ของ สปป.ลาว ที่จะทำให้คนนึกถึงการท่องเที่ยว เป็นการส่งออกแบรนด์ที่เน้นผลประโยชน์ที่ได้กับประเทศ
 แค่การขนส่งก็ไม่คุ้มแล้วที่จะส่งออก อย่างเบียร์ดังๆ ไม่ว่าจะเป็นไฮเนเก้นหรือคาร์ลสเบอร์กที่ทำกันก็ขายแบรนด์ทั้งนั้น แล้วไปผลิตอยู่ในประเทศที่ทำตลาด ตอนนี้เราก็ทำให้แบรนด์เราเป็นอินเตอร์แบรนด์ แต่ตลาดจริงๆ เป็นแบรนด์ในประเทศ เมื่อถึงจุดหนึ่งถ้าเป็นไปได้ แบรนด์เราเข้มแข็งพอ เราก็อาจจะไปตั้งโรงงานผลิตอยู่ในประเทศอื่น แต่อย่างน้อยต้องทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักให้ได้เสียก่อน เราถึงกล้าไปลงทุนอย่างน้อยสักล้านลิตรก็ผลิตได้แล้ว มองดูประเทศแรกอาจจะเป็นจีนก็ได้ เพราะมีพรมแดนติดตอนเหนือของลาว แต่การส่งออกเบียร์ กำไรน้อย ได้แต่ภาพพจน์ชื่อเสียงประเทศ ชื่อเสียงการท่องเที่ยว เป็นผลที่ได้ทางอ้อม
   อย่างไรก็ดี สำหรับการส่งออกแบรนด์เบียร์ลาว ท่านกิดสะหนาก็ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมีข้อจำกัดด้าน ปัจจัยหนุนในส่วนของร้านอาหารลาว ซึ่งไม่ได้เป็นที่รู้จักทั่วโลกเหมือนร้านอาหารไทย หรือร้านอาหารจีนที่เบียร์จากในประเทศนั้นสามารถเข้าไปเป็น Combination ในมื้ออาหารได้อย่างลงตัว
   ในอนาคต  นอกจากสิ่งที่เบียร์ลาวกำหนดให้ตัวเองเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศ เบียร์ลาว กำลังเป็นองค์กรที่ได้รับการคาดหวังว่าน่าจะเป็นหัวหอกในการเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สปป.ลาว ซึ่งมีแผนจะเปิดตามกำหนดภายในปลายปีนี้ เพราะเป็นบริษัทใหญ่มีผลประกอบการดี น่าจะเป็นแรงดึงดูดที่ดีสำหรับนักลงทุนเข้าสู่ตลาดหุ้นลาวได้ไม่น้อย 

รู้จักกับกิดสะหนา  วงไซ
   กิดสะหนา วงไซ จบด้านเศรษฐศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส เคยฝึกงานประจำอยู่ที่โรงงานเบียร์ในเชโกสโลวาเกียเป็นเดือนๆ เคยอยู่เยอรมนี ผ่านการทำระบบมาหลายโรงงาน มีโอกาสเดินทางศึกษาโรงงานเบียร์เกือบทั่วโลก รวมทั้งการเยี่ยมชมโรงงานของเบียร์สิงห์ เบียร์ช้าง และคาร์ลสเบอร์กในเมืองไทย โดยเฉพาะเมื่อได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้มาดูแลเบียร์ลาวตั้งแต่ปี 1981 เน้นการบริหารเชิงรุกและเน้นเรื่องการพัฒนาคน โดยจัดส่ง Brew Master ไปเรียนที่เยอรมนี เดนมาร์ก ปัจจุบันสร้าง Brew Master ชาวลาวแล้ว 4 คนในโรงงานเบียร์ลาว 
    นอกจากตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทเบียร์ลาว กิดสะหนายังเป็นประธานสภาการค้าและอุตสาหกรรมลาว ทำงานด้านสังคมและการกีฬามีลูกสาวเรียนจบ MBA จากออสเตรเลีย เป็นเจ้าของนิตยสาร Target นิตยสารธุรกิจ 2 ภาษาในลาว ซึ่งกิดสะหนาเป็นคอลัมนิสต์เขียนเรื่องการบริหารจัดการมาได้ 2-3 ปีแล้ว 
    ปัจจุบันความสำเร็จของเบียร์ลาวทำให้กิดสะหนามีภารกิจต้องเดินทางไปต่างประเทศอยู่เนืองๆ หนึ่งในนั้นก็คือการเดินทางไปรับรางวัลจากงานประกวดเครื่องดื่ม ซึ่งเบียร์ลาวและน้ำดื่มตราหัวเสือส่งผลิตภัณฑ์เข้าประกวด และชนะการประกวดอย่างต่อเนื่อง   

                                                                ท่านกิดสะหนา  วงไซ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น